กรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศไทย

กรอบการประเมินคุณภาพข้อมูล (Data Quality Assessment Framework : DQAF) ได้รับการพัฒนา ขึ้นครั้งแรกโดย The International Monetary Fund (IMF) สำหรับการประเมินเชิงลึกของกระบวนการทั้งหมดในการจัดการคุณภาพข้อมูลสถิติการศึกษา ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูลทางสถิติที่น่าเชื่อถือ ตรงตามมาตรฐาน และมีคุณภาพที่สามารถยอมรับได้ในระดับนานาชาติ โดยหน่วยงานมาตรฐานสถิติระหว่างประเทศ (UNESCO Institute for Statistics: UIS) ในสังกัดองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) นำกรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษา (Education Data Quality Assessment Framework: Ed-DQAF) ที่ได้รับความยอมรับในสากล โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimension) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) มาเป็นกรอบการจัดการคุณภาพของข้อมูลด้านการศึกษาในเบื้องต้น เพื่อนำไปประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับลักษณะงานทางสถิติของแต่ละหน่วยงาน เช่น กรอบการจัดการคุณภาพ อำนาจหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรักษาความลับของข้อมูลในส่วนของสภาพแวดล้อมเชิงสถาบัน เนื่องจากองค์ประกอบดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญและเป็นพื้นฐานในการจัดทำสถิติทางการในแต่ละประเทศ ที่คำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพข้อมูลสถิติ จึงได้ริเริ่มสร้างกรอบประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาขึ้น สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานมาตรฐานสถิติระหว่างประเทศ (UNESCO Institute for Statistics (UIS)) จัดทำข้อมูลและตัวชี้วัดทางการศึกษาของประเทศไทย ในโครงการโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษา (The Capacity Development for Education (CapED)) เป็นการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายจาก วิสัยทัศน์ที่มุ่งหมายเปลี่ยนแปลงองค์รวมของการศึกษา ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ตามวาระการพัฒนาของยูเนสโก โดยการสนับสนุนประเทศมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. บูรณาการเป้าหมายการศึกษาที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม (Quality Education) คือการศึกษาที่ทั่วถึง เสมอภาคทุกเพศ มีคุณภาพ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอบรมสายอาชีพ และที่สำคัญที่สุดคือเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายทุกคนได้รับการศึกษาฟรีในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 2. เพื่อเสริมสร้างระบบติดตามการศึกษา ในรูปแบบส่งเสริมการออกแบบยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาสถิติการศึกษา (A National Strategy for the Development of Education Statistics (NSDES)) ผ่านขั้นตอนต่อไปนี้: 2.1 จัดทำผังความเชื่อมโยงของแหล่งที่มาข้อมูล และระบุข้อบกพร่องของข้อมูลกับกรอบตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม (Quality Education) 2.2 ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ผ่านชุดการประเมินคุณภาพข้อมูล (Data Quality Assessment (DQA)) สำหรับแหล่งที่มาข้อมูลที่มีความหลากหลาย เพื่อจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพข้อมูล (Data Quality Assessment (DQA)) พร้อมทั้งแสดงคำแนะนำสำหรับการปรับปรุง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจึงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์สภาพการดำเนินการประเมินคุณภาพข้อมูล ในกระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา การประมวลผลข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล โดยได้ดำเนินการติดตามระบบการบริหารจัดการข้อมูลด้านการศึกษาของหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าสู่แนวทางการดำเนินงานของการประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศไทย (Thailand Education Data Quality Assessment: Thailand Ed-DQA) เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนประกอบการกำหนดนโยบายการวางแผนพัฒนาการศึกษา และการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ

Organizations :
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
Metadata last updated :
December 31, 2021
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.