โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นรากฐานที่สำคัญของการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ มีการพัฒนาระบบขนส่งทางราง การขนส่งของประเทศ และรองรับการเชื่อมโยงกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและศูนย์บริการโลจิสติกส์ในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งพัฒนากระบวนการและการบริหารจัดการระบบโลจิสติส์ ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศในระดับที่แข่งขันได้ พัฒนาให้เกิดการใช้พลังงานในภาคขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งเมืองหลักในภูมิภาค
  • ด้านพลังงาน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้มีความมั่นคง กระจายชนิดของเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ส่งเสริมพลังงานทดแทน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ปัจจัยแวดล้อม และสร้างแรงจูงใจ เพื่อสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะระบบการกักเก็บพลังงาน และระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ
  • ด้านดิจิทัล พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การแพร่ภาพกระจายเสียง พื้นที่ทดลองทดสอบรองรับการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ให้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศที่ครอบคลุมพื้นที่ รวมถึงสามารถรองรับความต้องการของประชาชนทั้งในระดับครัวเรือน อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวได้ในระดับหนึ่ง

ชุดข้อมูลตัวอย่าง เช่น อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐาน สถิติการขนส่งภายในประเทศ สถิติการขนส่งระหว่างประเทศ สถิติการขนส่งทางราง สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ ดัชนีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ สัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ สถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า สถิติการใช้พลังงานภายในประเทศ ค่าความเข้มข้นการใช้พลังงาน แผนงาน/โครงการการใช้งานระบบสมาร์ทกริด สถิติการใช้อินเตอร์เน็ทของครัวเรือน เป็นต้น