ลักษณะทางสังคมพืชและการประเมินคาร์บอนเหนือพื้นดินในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก มีสาเหตุสำคัญที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยขาดการควบคุมให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติเดิม ทำให้เกิดผลกระทบมากมาย จนเกิดเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่เรียกว่า “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (United Nation Framework convention on Climate Change : UNFCCC) มีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งการดำเนินการสำรวจจะต้องศึกษาในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของทั่วทุกภาคในประเทศไทย จึงเป็นการศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในป่าต้นน้ำของอีสานตอนใต้ ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นแหล่งกักเก็บและปลดปล่อยน้ำสู่ลำธาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการดำเนินการเรื่องเรดด์พลัส และวางแผนเพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บคาร์บอนและฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมต่อไป ดำเนินการศึกษาโดยการสำรวจพื้นที่ป่าเพื่อจำแนกชนิดป่าออกเป็นป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง จำแนกระดับของหมู่ไม้ในแต่ละประเภทป่าจากภาพถ่ายทางอากาศออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ หมู่ไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก หมู่ไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และหมู่ไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อย ระดับละ 3 แปลง จากนั้นคัดเลือกพื้นที่วางแปลงตัวอย่างถาวร ขนาด 40x40 ตารางเมตร หรือ 1 ไร่ ในป่าทุกประเภท พร้อมทั้งเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นไม้ เถาวัลย์ ไผ่ รวมถึงชิ้นตัวอย่างไม้ตาย และเก็บข้อมูลลักษณะโครงสร้างสังคมพืชและความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืช วางกระบะสำหรับรองรับซากพืชที่ร่วงหล่นในแต่ละเดือน แปลงตัวอย่างละ 5 กระบะ จากผลการศึกษาพบว่า สำรวจลักษณะสังคมพืชและประเมินคาร์บอนเหนือพื้นดินในป่าดิบแล้ง อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จากการวางแปลงตัวอย่างขนาด 40x40 ตารางเมตร ในพื้นที่พบว่าชนิดป่าของพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีค่าการกักเก็บคาร์บอนมากที่สุด คือ ป่าดิบแล้ง 1,348,924.949 ตันคาร์บอนต่อเฮกต้าร์ (tc/ha) รองลงมา คือ ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ซึ่งมีค่าการกักเก็บคาร์บอน เท่ากับ 1,120,921.700 tc/ha และ 485,376.302 tc/ha ตามลำดับ

องค์กร :
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
30 พฤศจิกายน 2564
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness

0 out of 5
มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลลักษณะทางสังคมพืชและการประเมินคาร์บอนเหนือพื้นดินในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Vegetation and Above-ground Carbon Storage in Pha Taem National Park, Ubon Ratchathani Province.
หมวดหมู่ การเติบโตอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ การประเมินคาร์บอนเหนือพื้นดิน
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 180102
องค์ประกอบ 180102V05
ปัจจัย 180102F0506
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG1504
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) การศึกษาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลในการดำเนินการ เรื่อง กลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่า การทำให้ป่าเสื่อมโทรม และบทบาทของป่าในการอนุรักษ์คาร์บอน การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าในประเทศกำลังพัฒนา (เรดด์พลัส) และวางแผนเพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บคาร์บอนและฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมต่อไป
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย ข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่ จากการสำรวจพื้นที่ป่าที่แบ่งเป็น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง มีความสมบูรณ์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ โดยเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นไม้ เถาวัลย์ ไผ่ รวมถึงชิ้นตัวอย่างไม้ตาย และเก็บข้อมูลลักษณะโครงสร้างสังคมพืชและความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืช และการร่วงหล่นของซากพืชในแต่ละเดือน เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโครงสร้างทางสังคมพืช วิเคราะห์ข้อมูลมวลชีวภาพ และปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม
พื้นที่เป้าหมาย จังหวัดอุบลราชธานี
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย จิรัญญ์นันท์ บัวจันทร์
อีเมลนักวิจัย nang_61@hotmail.com
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
การประเมินมูลค่าการให้บริการระบบนิเวศอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 3 recent views
อธิบายความสำคัญของพื้นที่ป่าต้นน้ำ ในด้านการให้บริการทางอุทกวิทยาและความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าต้นน้ำ...
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
วารสารการทดสอบและการประเมินทางการศึกษาระดับชาติ 1 recent views
วารสารการทดสอบและการประเมินทางการศึกษาระดับชาติ (Journal of National Education Testing and Assessment) เปนวารสารวิชาการที่เผยแพรผลงานของนักวิชาการ นักวิจัย บุคลากร...
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ครัวเรือนที่มีอุปกรณ์ เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3 recent views
ครัวเรือนที่มีอุปกรณ์ เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรายจังหวัด พ.ศ. 2563
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.