โครงการพัฒนายกระดับการผลิตผ้าไหมสู่สากล

หลักการและเหตุผล 1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) เป็นยุทธศาสตร์ฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมี ยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน เป็นตัวขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีเป้าหมายการเพิ่มขึ้นของ (1) รายได้ประชาชาติ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และการกระจายรายได้ (2) ผลิตภาพการผลิตของประเทศทั้งในปัจจัยการผลิตและแรงงาน (3) การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา และ (4) ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ถือได้ว่าเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติการสร้างรายได้ เป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ และยังเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศ การขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะ ๒๐ ปีข้างหน้า จำเป็นต้องสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้เป็น “ผู้ประกอบการยุคใหม่” ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (8) ประเด็นผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ เนื่องจากการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการมีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต และความเข้มแข็งของผู้ประกอบการจะช่วยให้ประเทศสามารถแข่งขันในระดับเวทีการค้าโลกได้ เชื่อมโยงแผนย่อย ที่ 3.3 การสร้างโอกาสเข้าถึงการตลาดโดยสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีอัตลักษณ์และตราสินค้าที่เด่นชัดให้ความสำคัญกับการผลิตโดยใช้ตลาดนำที่คำนึงถึงความต้องการของตลาดโดยเฉพาะตลาดที่มีมูลค่าสูง และสอดคล้องกับแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านการสร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายในควบคู่กับการแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้การยกระดับมาตรฐานสินค้ากลุ่มผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าย้อมคราม และส่งเสริมพื้นที่ที่มีศักยภาพให้ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในระดับภูมิภาค เป็นแนวทางในการพัฒนา 1.2 สรุปสาระสำคัญ (สภาพปัญหา/ความต้องการ) กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) มีการผลิตผ้าไหมที่มีชื่อเสียงมาช้านาน และมีผู้ผลิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจ โดยรวมของกลุ่มจังหวัดเป็นอย่างมากมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจการค้าผ้าไหมเป็นไปอย่างรุนแรง จึงต้องเร่งพัฒนารูปแบบ คุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ มีพื้นที่ปลูกหม่อน 19,212 ไร่ เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 34,070 ราย มีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ผ้าไหมกว่า 17,800 ราย มูลค่าการจำหน่ายผ้าไหม และผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี จากการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพไหมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่ผ่านมา พบว่าความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน รวมทั้งการแข่งขันในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีความรุนแรงมากขึ้น ได้ก่อให้เกิดช่องว่างทางการค้าอย่างมากมาย กลุ่มผู้ผู้ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ไหมจำนวนมากไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกลุ่มนครชัยบุรินทร์ ได้จัดทำโครงการพัฒนายกระดับการผลิตผ้าไหมสู่สากล ให้กลุ่มผู้ทอผ้าไหม ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ แปรรูปจากผ้าไหม กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เพื่อแก้ไขปัญหาปัญหาดังกล่าวข้างต้น ด้วยแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และการออกแบบในเชิงสร้างสรรค์ ผสมผสานด้วยภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาและยกระดับให้ได้รับการรับมองมาตรฐาน การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ การสร้างองค์ความรู้และเทคนิคการขยายโอกาสทางการตลาดยุค 4.0 ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพพร้อมจะเข้าสู่ตลาด รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ (Digital marketing) ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างรายได้ลงสู่ท้องถิ่น ซึ่งกลไกลทางเศรษฐกิจฐานรากก็จะถูกขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาให้กลายเป็นธุรกิจที่เลี้ยงชีพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ และแผนบูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค รวมทั้งสอดคล้องกับภารกิจของกระทรวงอุตสาหกรรมในการส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมให้กับผู้ประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ไปสู่เป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 2.1 พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และการออกแบบในเชิงสร้างสรรค์ ผสมผสานด้วยภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และโอกาสทางการตลาด 2.2 พัฒนาและยกระดับผ้าไหม และผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมให้ได้รับการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 2.3 การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงความรู้ เครื่องมือ นวัตกรรม เทคโนโลยี วัตถุดิบ รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจ 2.4 สร้างองค์ความรู้และเทคนิคการขยายโอกาสทางการตลาดยุค 4.0 และความพร้อมเข้าสู่ตลาด รวมถึงการเพิ่มช่องทางการตลาดด้วยระบบตลาดออนไลน์ (Digital marketing)

องค์กร :
กระทรวงอุตสาหกรรม
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
22 ธันวาคม 2563
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) The project to improve the production of silk to the international level.
หมวดหมู่ ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่
คำสำคัญ การสร้างโอกาสเข้าถึงตลาด
เป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 080001
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG0801
ความถี่ในการเผยแพร่ข้อมูล (Frequency) ปรับปรุงรายเดือน
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
ผู้จัดทำข้อมูล ขวัญฤดี ชะนะภักดิ์
อีเมลผู้จัดทำข้อมูล k_mymom@yahoo.com
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 4 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอดำ (Thunnus tonggol (Bleeker,1851)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย 2 recent views
เพื่อศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอดำ (Thunnus tonggol (Bleeker, 1851)) ที่พบทางฝั่งทะเลอันดามัน ของประเทศไทย
กรมประมง
แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 4 recent views
Abstract The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สถานการณ์ทางสังคมในระดับพื้นที่ 2 recent views
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.