ขนาดตัวอักษร ภาษา
โครงการส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี
โครงการส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี

โครงการส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรีได้จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มของเยาวชนในระดับประถมศึกษา - ระดับมัธยมศึกษา ได้เกิดเครือข่ายของเยาวชนที่หล่อหลอมคุณภาพความรู้คิด และจิตใจให้เป็นเยาวชนที่รู้รักหวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่นของตน อนาคตจะเป็นผู้ใหญ่ที่ถ่ายทอดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับครอบครัว สังคมโดยรอบเป็นเครือข่ายในวงกว้างต่อไป

องค์กร :
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
27 พฤศจิกายน 2567
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness

0 out of 5
มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลโครงการส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) sustainable conservation of natural resources
หมุดหมายที่เกี่ยวข้องหลัก P1311 - ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายระดับหมุดหมาย P131103 - สังคมไทยมีภูมิคุ้มกันจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หมวดหมู่ การพัฒนาการเรียนรู้
คำสำคัญ ส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
หน่วยงานดำเนินการและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง 1. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) 2. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี 3. โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 4. โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 5. โรงเรียนอนุบาลเมืองราชบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1. เพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจ ต่อคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความรักหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดราชบุรี 2. เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เยาวชนรู้บทบาทหน้าที่พลเมืองด้าน กำหนดคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี 3. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนแสดงออกทางความคิดด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นการสร้างเครือข่ายเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของเยาวชนในจังหวัดราชบุรี
รายละเอียดการดำเนินงาน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี จังหวัดราชบุรีตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มป่าแก่งกระจาน ผืนป่าที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แหล่งที่ 6 และเป็นลำดับที่ 3 ของมรดกทางธรรมชาติของไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2564 นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของพี่น้องชาวจังหวัดราชบุรี การปลูกฝั่งความรัก ความหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญให้มีความมั่นคง ยั่งยืน จำเป็นต้องสร้างกระบวนการตระหนักรู้ให้กับเยาวชนในพื้นที่ เนื่องจากเยาวชนเป็นแรงที่ขับเคลื่อนประเทศชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต มีความสำคัญยิ่งที่ทำให้กิจกรรมต่างๆ ในสังคมดำเนินไปด้วยความสำเร็จลุล่วง ซึ่งสามารถสังเกตในหลากหลายกิจกรรมหรืองานอะไรก็ตามมักจะเห็นเยาวชน มีส่วนร่วมกับงานเหล่านี้อยู่เสมอ เยาวชนจึงเป็นหัวใจในการสร้างการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ผู้คนที่สนใจ ทำให้การกิจกรรมนั้นๆ สามารถสร้างเครือข่ายจนทำให้เกิดพลังของสังคม ในการพัฒนา และสร้างการเรียนรู้ พร้อมกับสร้างจิตสำนึกที่ดี มีทัศนคติที่ดีในสังคม ซึ่งการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำให้สังคมน่าอยู่ เนื่องจากการดำเนินชีวิตปกติสุขของสังคมต้องมีการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติที่เป็นแหล่งสร้างออกซิเจน ที่จำเป็นของมนุษยชาติ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี จังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 3 (บ้านโป่ง) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้เยาวชนเกิดความรัก ความหวงแหน และ ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จึงได้สนับสนุนกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เยาวชนได้มีการเรียนรู้ และเห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น ตลอดจนมีบทบาทสำคัญในการสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนของตนเอง ภายใต้การดำเนินการในรูปแบบของกิจกรรมกลุ่มค่ายเยาวชนจิตอาสา มีการส่งเสริม กระตุ้น และปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนมีความรู้สึกหวงแหน และการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น ศูนย์ศึกษาฯ จึงมีความเหมาะสมต่อการเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติสำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไป
ผลการดำเนินงาน 1. ผลการสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของเยาวชนค่ายส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมได้คิดเป็นร้อยละ 88.04 เมื่อพิจารณา รายข้อพบว่า พฤติกรรมของเยาวชนที่เข้าร่วมและมีการแสดงออกมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีแววตารอยยิ้ม และพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีความสุขร้อยละ 98.33 ปรับตัวให้เข้ากับสมาชิกชาวค่าย และบุคคลอื่นร้อยละ 95.38 และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมร้อยละ 95.00 ตามลำดับ 2. สรุปผลการสังเกตพฤติกรรมเข้าร่วมกิจกรรมของเยาวชนค่ายส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี จำแนกเป็นรายด้าน โดยภาพรวมนักเรียนทำกิจกรรมได้ร้อยละ 88.66 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของพฤติกรรมที่เยาวชนแสดงออกมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านความสุข (Happiness) ร้อยละ 95.00 ด้านทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น (Relationship Skill) ร้อยละ 93.75 และด้านตระหนักต่อสังคม (Social Awareness) ร้อยละ 88.89 ตามลำดับ 3. ผลการประเมินระดับการเรียนรู้ของเยาวชนค่ายส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี จำแนกเป็นรายกิจกรรมพบว่า โดยภาพรวมเยาวชนมีระดับการเรียนรู้มากกว่าร้อยละ 80 ในทุกกิจกรรม โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1) อธิบายได้ - เข้าใจดี (ร้อยละ 91.23) 2) ไม่แน่ใจ (ร้อยละ 7.45) 3) อธิบายไม่ได้ - ไม่เข้าใจ (ร้อยละ 1.32)
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ [u'\u0e1e\u0e37\u0e49\u0e19\u0e17\u0e35\u0e48\u0e40\u0e1b\u0e49\u0e32\u0e2b\u0e21\u0e32\u0e22\u0e21\u0e35\u0e04\u0e27\u0e32\u0e21\u0e1e\u0e23\u0e49\u0e2d\u0e21\u0e17\u0e32\u0e07\u0e01\u0e32\u0e22\u0e20\u0e32\u0e1e \u0e40\u0e2b\u0e21\u0e32\u0e30\u0e2a\u0e21\u0e01\u0e31\u0e1a\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23', u'\u0e2b\u0e19\u0e48\u0e27\u0e22\u0e07\u0e32\u0e19\u0e20\u0e32\u0e04\u0e23\u0e31\u0e10\u0e43\u0e2b\u0e49\u0e01\u0e32\u0e23\u0e2a\u0e19\u0e31\u0e1a\u0e2a\u0e19\u0e38\u0e19\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23', u'\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23\u0e21\u0e35\u0e17\u0e34\u0e28\u0e17\u0e32\u0e07\u0e41\u0e25\u0e30\u0e40\u0e1b\u0e49\u0e32\u0e2b\u0e21\u0e32\u0e22\u0e17\u0e35\u0e48\u0e0a\u0e31\u0e14\u0e40\u0e08\u0e19']
บทเรียนจากการดำเนินงาน เนื่องจากการจัดกิจกรรมมีจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นรุ่น และคัดเลือกโรงเรียนไว้แล้วทำให้ต้องมีการคัดเลือกนักเรียนเป็นบางคน จึงไม่ได้มาร่วมโครงการทั้งระดับชั้น ส่งผลให้เด็กบางคนไม่ได้รับโอกาสในการร่วมกิจกรรม
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
ผู้จัดทำข้อมูล นายทศพร คล้ายมี
อีเมลผู้จัดทำข้อมูล tcvs999@gmail.com
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายงานการศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย ในการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน 3 recent views
การศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยในการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากร พื้นถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาเอกสาร สัมภาษณเชิงลึก...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน สู่ความมั่นคงทางอาหาร 3 recent views
กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา...
กรมการปกครอง
โครงการขยายผล/ต่อยอดการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ 5 recent views
กรมการปกครองให้อำเภอดำเนินการขับเคลื่อน “โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านพัฒนายั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี...
กรมการปกครอง
The National Dialogue on Water in Thailand 3 recent views
The National Dialogue on Water in Thailand aims to support adjustments in water resources management, building on the agenda that Thailand has embarked upon in recent years...
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.