แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย

การวิจัย เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย สถานภาพในการดำเนินงานการด้านการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับดิจิทัลแพลตฟอร์มภาพรวมในปัจจุบันของประเทศไทย สถานศึกษาหลายแห่งมีนโยบายการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์มาก่อนเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยมีแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนทุกคนต้องได้เรียนรู้โดยไม่เสียโอกาส และเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยสถานศึกษาจำนวนมากใช้ Google Classroom เป็นช่องทางหลักสำหรับจัดการเรียนรู้ แต่มีสถานศึกษาบางแห่งพัฒนาระบบการเรียนการสอนขึ้นเอง วิธีการสอนออนไลน์ เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ สื่อการสอนหลากหลายมีประสิทธิภาพ และเนื้อหาสั้นกระชับ การวัดและประเมินผล เช่น การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน แบบฝึกหัดออนไลน์ ติดตามการเข้าชั้นเรียนและการส่งงาน โดยลดเกณฑ์และจำนวนผลงานให้น้อยลงกว่าการเรียนในชั้นเรียน ทั้งนี้การสนับสนุนสื่อและอุปกรณ์สำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ความช่วยเหลือจากรัฐบาลยังไม่เพียงพอ สถานศึกษาแต่ละแห่งจึงพยายามสนับสนุนครูและนักเรียน นอกจากนี้สถานศึกษาจัดอบรมครูเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือต่าง ๆ ในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน และมีกลุ่ม PLC เพื่อปรึกษาการใช้ไอซีทีในการสอนออนไลน์ และสุดท้ายปัญหาหรือข้อจำกัดในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ได้แก่ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสัญญาณที่ไม่เสถียร ผู้เรียนขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ และเมื่อโรงเรียนปิดทำให้นักเรียนบางคนมีภาระที่ต้องปฏิบัติที่บ้านจึงไม่สามารถเข้าเรียนได้ รวมถึงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ไม่เหมาะสม และผู้เรียนขาดทักษะการเรียนออนไลน์ ครูไม่สามารถดูแลผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งไม่ตอบโจทย์การเรียนภาคปฏิบัติ ทัศนคติของครูในการใช้เทคโนโลยีในการสอนและการสอนออนไลน์ ครูขาดความรู้เรื่องเทคโนโลยีการศึกษา และครูขาดสมรรถนะและประสบการณ์จัดการเรียนการสอนออนไลน์ นโยบายและระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับดิจิทัลแพลตฟอร์มของประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) 3 ประเทศ ดังนี้ (1) ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐควรให้โรงเรียนมีอิสระในการออกแบบการเรียนการสอนของตนเอง และมีนโยบายช่วยเหลือการเรียนการสอนออนไลน์ ครูใช้เทคโนโลยีในการสอนควบคู่กับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สอนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีแก่ผู้เรียน ครูควรสื่อสารกับผู้เรียนอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ และกำหนดช่วงเวลาให้ผู้ปกครองเข้าร่วมการเรียนจากที่บ้าน การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นสิ่งที่ผู้เรียนเข้าถึงได้ทั่วไป มีเงินทุนสนับสนุน มีศูนย์ให้คำแนะนำ จัดสรรอุปกรณ์การสอนและช่วยเหลือครูเรื่องการใช้เทคโนโลยี โรงเรียนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มครูผู้สอน โรงเรียนกำหนดเวลาให้ครูปรึกษาการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี จัดสรรนักเทคโนโลยีการศึกษา และจัดอบรมการใช้เทคโนโลยีสำหรับการสอนออนไลน์ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง (2) ประเทศจีน ใช้โมเดล Dual teacher คือ การนำติวเตอร์มาสอนผ่านวีดีโอหรือ Live streaming และนำเนื้อหานั้นมาใช้ในโรงเรียน เนื่องจากประเทศจีนมีนโยบายปิดกั้นการเข้าถึงบริการและสื่อสังคมออนไลน์ต่างประเทศ โรงเรียนจัดหาอุปกรณ์เชื่อมต่อ VPN ไว้ที่เราเตอร์ของโรงเรียน และจัดสรรบุคลากรช่วยเหลือครูจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และใช้ WeChat Work ในการติดต่อสื่อสารและจัดอบรมครู (3) ประเทศสิงคโปร์ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงศึกษาธิการและ GovTech พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลแห่งชาติ Student Learning Space (SLS) ซึ่งทุกโรงเรียนสามารถเข้าถึงได้ และเอื้อให้นักเรียนเรียนรู้ตามระดับความสามารถของตนเอง นอกจากนี้นักเรียนทุกคนต้องเข้าถึงคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และไวไฟ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนออนไลน์ และการจัดอบรมครูต้องเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการและครูสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่านแพลตฟอร์ม SLS ได้ กรณีตัวอย่างสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ของประเทศไทย สรุปผลจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ 8 สถานศึกษา ได้แก่ 1. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา 2. วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด 3. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี 4. สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก 5. สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ 6. โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย 7. โรงเรียนคณะราษฎรบํารุง จังหวัดยะลา และ 8. โรงเรียนนครสวรรค์ ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านนโยบาย สถานศึกษาบางแห่งมีนโยบายการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ตั้งแต่ก่อนเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา สนง. กศน.พิษณุโลก และสนง. กศน.ศรีสะเกษ ทั้งนี้ผู้อำนวยการสถานศึกษาทั้ง 8 แห่งวิสัยทัศน์ คือ ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ได้โดยไม่เสียโอกาสและไม่เสียเวลา และต้องสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา 2) ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สถานศึกษาส่วนมากใช้ Google Classroom และ Facebook เป็นช่องทางหลักในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ นอกจากนี้สถานศึกษา 2 แห่งพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขึ้นเอง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทราพัฒนาระบบ LMS ด้วย Moodle และสนง. กศน.จังหวัดศรีสะเกษพัฒนาระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ (NFE-LMS) 3) ปัจจัยด้านสื่อและอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน สถานศึกษาทั้ง 8 แห่งติดตั้งอินเทอร์เน็ตไร้สายภายในสถานศึกษา Google Apps for Education มีสตูดิโอผลิตสื่อวิดีโอการสอนสำหรับครู และบางสถานศึกษามีอุปกรณ์ให้นักเรียนที่ขาดแคลนยืมเพื่อใช้เรียนออนไลน์ 4) ปัจจัยด้านผู้นำโรงเรียน และการส่งเสริมและสนับสนุนครู สถานศึกษาจัดอบรมครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน และบางสถานศึกษาตั้งกลุ่ม PLC เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์ และ 5) ปัญหาหรือข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ คือ สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร ผู้เรียนบางคนมีอินเทอร์เน็ตไม่เพียงพอสำหรับเรียนออนไลน์ และขาดแคลนอุปกรณ์สำหรับเรียนออนไลน์ นอกจากนี้การเรียนออนไลน์สำหรับอาชีวศึกษาไม่ตอบโจทย์การเรียนภาคปฏิบัติ ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงานด้านการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับดิจิทัลแพลตฟอร์มของประเทศไทย ปัจจัยด้านนโยบายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากนโยบายที่ดีจะเป็นแนวทางสำหรับให้สถานศึกษานำไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ ปัจจัยลำดับที่สอง คือ ปัจจัยด้านสื่อและอุปกรณ์สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนการสอนออนไลน์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหากนักเรียนไม่มีอุปกรณ์และสัญญาณอินเทอร์เน็ต ต่อมาปัจจัยด้านผู้นำโรงเรียนและการส่งเสริมและสนับสนุนครู เมื่อมีอุปกรณ์พร้อมแล้ว การพัฒนาครูควรดำเนินการลำดับต่อมา เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องพัฒนาครบทุกด้านทั้งความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยสุดท้าย คือ ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เมื่อผู้สอนมีอุปกรณ์พร้อมและมีทักษะความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แล้วจึงจะสามารถจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีคุณภาพได้ ประสบการณ์ความท้าทายของการดำเนินงานด้านการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับดิจิทัลแพลตฟอร์มของประเทศไทยและประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) 3 ประเทศ 1) นโยบายของรัฐที่ไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของโรงเรียน ประเทศไทย โรงเรียนที่มีความพร้อมควรได้รับอิสระในการจัดการเรียนการสอน รัฐควรมีนโยบายหลายระดับ และเมื่อรัฐออกนโยบายใหม่ควรให้งบประมาณเพิ่มเติม ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำโรงเรียนให้อิสระในการออกแบบการเรียนการสอนแก่ครู ประเทศจีน ผู้นำโรงเรียนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับบุคลากรและนักเรียนในการจัดการเรียนการสอน เช่น อุปกรณ์เชื่อมต่อ VPN เป็นต้น ประเทศสิงคโปร์ นโยบายของรัฐเกิดจากการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง 2) บุคลากรขาดความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียน การสอนออนไลน์ ประเทศไทย การจัดการกับอุปสรรคแบบ Localized โดยโรงเรียนจัดการอบรมภายในโรงเรียนจากกลุ่มครูรุ่นใหม่เป็นผู้นำความรู้ถ่ายทอดให้บุคลากรท่านอื่น ประเทศสหรัฐอเมริกา การจัดการกับอุปสรรคแบบ Professionalized โรงเรียนจัดสรรนักเทคโนโลยีการศึกษา จัดอบรมการใช้เทคโนโลยี สนับสนุนการเรียนรู้ในหมู่ผู้สอน และจัดช่วงเวลาให้ครูขอคำปรึกษา ประเทศจีน การจัดการกับอุปสรรคแบบ Privatized โดยโรงเรียนใช้บริการ Dual-teacher ทั้งนี้บริษัทจะช่วยครูในโรงเรียนเรื่องการเรียนรู้ของนักเรียนและการในคำปรึกษาด้านวิชาการแก่นักเรียน ประเทศสิงคโปร์ การจัดการกับอุปสรรคแบบ Centralized คือ National Institute of Education (NIE) เป็นองค์กรฝึกอบรมครูทุกคนของสิงคโปร์ และ NIE จะจัดอบรมครูให้สอดคล้องกับความต้องการของรัฐ 3) ขาดแคลนทุนทรัพย์ สื่อและอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ประเทศไทย การมีเครือข่ายจากสมาคมผู้ปกครองและภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนทุนทรัพย์และอุปกรณ์ในการเรียนการสอน สถานศึกษามีไวไฟครอบคลุม การให้ซิมอินเทอร์เน็ตแก่นักเรียนที่ขาดแคลน ประเทศสหรัฐอเมริกา มีเงินทุนสนับสนุนให้ครูแต่ละท่านเสนอโครงการหรือออกแบบการเรียนการสอนออนไลน์ของตนเอง และมีศูนย์สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการศึกษาและให้คำแนะนำครูโดยตรง ประเทศจีน รัฐบาลจีนจัดสรรห้องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียน ประเทศสิงคโปร์ ไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนทุนทรัพย์ สื่อและอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการจัดหาอุปกรณ์เหล่านี้มาก่อนสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 4) คลังแผนการเรียน และสื่อการสอนออนไลน์สำหรับครู ประเทศไทย โรงเรียนร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลักดันครูตัวอย่างให้ผลิตเนื้อหาออนไลน์ และครูเลือกใช้สื่อการเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ insKRU เป็นต้น ประเทศสหรัฐอเมริกา เลือกใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีบริการอยู่แล้ว เช่น เว็บไซต์ Common Sense Education, Code.org เป็นต้น ประเทศจีน บริการ Dual-teacher มีคลังวีดีโอและสื่อเพื่อการศึกษาให้ครูนำไปประกอบการสอนได้ ประเทศสิงคโปร์ ใช้แพลตฟอร์ม SLS ให้ครูแลกเปลี่ยนไอเดียการสอนกับครูท่านอื่น ๆ ทั่วประเทศ 5) การสื่อสารกับผู้ปกครอง เมื่อนักเรียนต้องเรียนออนไลน์ ครูหรือโรงเรียนติดต่อสื่อสารกับนักเรียนผู้ปกครองและแจ้งข่าวสารผ่านแอปพลิเคชันที่แตกต่างกัน ดังนี้ ประเทศไทย ใช้ Line, Facebook Group ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ปกครองมีบัญชี Google Classroom ของนักเรียน และใช้แอปฯ Seesaw, Remind ประเทศสิงคโปร์ใช้ Parents Gateway และประเทศจีนใช้ WeChat Work
แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. นโยบาย 2. การพัฒนาครู 3. การให้ความช่วยเหลือ และ 4. การจัดการเรียนการสอน ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ด้านมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ปัจจัยด้านนโยบายเป็นกรอบที่กำหนดปัจจัยทั้ง 3 ด้านให้ดำเนินการได้อย่างชัดเจน เมื่อกำหนดนโยบายแล้วการพัฒนาครูให้มีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ และปัจจัยที่ต้องส่งเสริมคู่ขนานกับการพัฒนาครู คือ การให้ความช่วยเหลือทั้งครูผู้สอนและผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย และสุดท้ายเมื่อกำหนดนโยบายให้มีความชัดเจน ครูมีความรู้และทักษะจากการพัฒนาครู และครูและผู้เรียนได้รับความช่วยเหลือแล้ว การจัดการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญลำดับต่อมา ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนจะมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพได้ต้องเป็นผลมาจาก 3 ปัจจัยข้างต้น แนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ฯ ระยะสั้น การส่งเสริมและพัฒนาครูเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ โดยกำหนดให้ภายใน 1 เดือนครูต้องได้รับการอบรมอย่างน้อย 2 – 3 ครั้ง เพื่อพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอทั้งความรู้และทักษะ โดยการจัดอบรมเน้นอบรมเชิงปฏิบัติการในลักษณะ Upskill และ Reskill ให้อิสระครูในการเลือกหัวข้ออบรมตามความต้องการ ซึ่งคอร์มอบรมนั้นต้องมีอย่างสม่ำเสมอ อาจเป็นคอร์สออนไลน์เพื่อสามารถเข้าได้อย่างง่ายและทั่วถึง และมีการติดตามผลหลังการฝึกอบรมทุกครั้ง ตัวอย่างเช่น จัดสัมมนาหลังจากอบรมแล้วหนึ่งเดือน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ต่าง ๆ ที่ครูค้นพบหลังจากนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยอาจจัดเป็นสัมมนาออนไลน์เพื่อให้ครูทุกพื้นที่สามารถมีส่วนร่วมได้โดยสะดวก นอกจากนี้การมีกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครู เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ควรมี ด้านแนวทางการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนอาจกำหนดว่าภายใน 1 ภาคการศึกษาหรือ 1 ปีการศึกษาครูต้องจัดการเรียนการสอนอย่างน้อย 1 วิชาที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) หรือการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) เพื่อให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนปรับตัวและเคยชินกับการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform แนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ฯ ระยะยาว เริ่มจากการวางนโยบายที่มีความชัดเจนและต่อเนื่อง โดยเริ่มจากกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาออนไลน์ (Online education’s policy) และเสนอเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาออนไลน์แห่งชาติ นอกจากนี้ต้องพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยกำหนดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์แกนกลางที่สถานศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาได้ ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางนั้นควรมีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี เพื่อให้หลักสูตรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทันสมัย ด้านปัจจัยการให้ความช่วยเหลือภาครัฐขอการสนับสนุนจากภาคเอกชนเรื่องสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือซิมการ์ด โดยวางแผนระยะยาวกำหนดออกมาเป็นแนวทางที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภาครัฐต้องวางแผนพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับจัดการเรียนการสอนออนไลน์จากส่วนกลางขึ้น โดยสามารถใช้ได้ในทุกระบบการศึกษา ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และการศึกษานอกระบบโรงเรียน และต้องบำรุงรักษาแพลตฟอร์มอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและถาวร กำหนดให้มีการปรับปรุงและพัฒนาแพลตฟอร์มเพิ่มเติมอย่างน้อยทุก ๆ 2 ปี เพื่อให้แพลตฟอร์มมีความทันสมัย การให้ความช่วยเหลือครูผู้สอนควรจัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือครูในด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น บุคลากรฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิคและนักออกแบบการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น โดยต้องตำแหน่งดังกล่าวต้องมีประจำสถานศึกษา กล่าวคือ เมื่อมีคนลาออกต้องจัดบุคลากรทดแทนทันที เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

องค์กร :
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
30 ธันวาคม 2564
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) The Promotion of Learning connecting National Digital Learning Platform for Thailan
หมวดหมู่ การพัฒนาการเรียนรู้
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 120101
องค์ประกอบ 120101V03
ปัจจัย 120101F0302
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG0407
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) เป็นต้นน้ำซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ Digital Learning Platform ซึ่งจะช่วยให้คนไทยทุกระดับการศึกษาได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกที่ ทุกเวลา
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย งานวิจัยมีการเสนอแนวทางการดำเนินการส่งเสริมฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานระดับนโยบายและระดับปฏิบัติได้มีการนำแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ Digital Learning Platform เพื่อไปพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้อง และขยายผลไปสู่การปฏิบัติ
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย ศาสตราจารย์ ดร.เนาวนิตย์ สงคราม หัวหน้านักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.เกริก ภิรมย์โสภา นักวิจัย ดร.สวรส ธนาพรสังสุทธิ์ นักวิจัย นางสาวหทัยภัทร โอสุวรรณ ผู้ช่วยนักวิจัย
อีเมลนักวิจัย noawanit_s@chula.ac.th
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ 61 recent views
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
แนวทางการฟื้นตัวทางการศึกษาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและเสมอภาค 16 recent views
แนวคิดเรื่องการฟื้นตัวทางการศึกษาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและเสมอภาคเป็นแนวทางที่หลายประเทศให้ความสนใจ...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
คู่มือคัดกรองและพัฒนาพหุปัญญา 25 recent views
คู่มือคัดกรองและพัฒนาพหุปัญญาเป็นผลจากการศึกษารูปแบบกลไกพหุปัญญาการพัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญา...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 5 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.