โครงการขยายผล/ต่อยอดการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
โครงการขยายผล/ต่อยอดการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลโครงการขยายผล/ต่อยอดการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ โดยกรมการปกครอง
รายละเอียด | |
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล | |
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล | |
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด | |
รูปแบบ | |
ขนาดไฟล์ | |
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ | |
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ |
Data Dictionary
ฟิลด์ | ประเภท | ป้ายกำกับ | รายละเอียด |
---|---|---|---|
{{field.id}} | {{field.type}} | {{field.info.label}} | {{field.info.notes}} |
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) | Project to expand/continue the implementation of the One Sub-district, One Sustainable Village Project (Sustainable Village), Ao Luek District, Krabi Province |
หมุดหมายที่เกี่ยวข้องหลัก | P1309 - ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และมีความคุ้มครองทางสังคม ที่เพียงพอ เหมาะสม |
เป้าหมายระดับหมุดหมาย | P130901 - ครัวเรือนที่มีแนวโน้มกลายเป็นครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น มีโอกาสในการเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม จนสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างยั่งยืน |
หมวดหมู่ | การส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี |
คำสำคัญ | หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยังยืน |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ |
หน่วยงานดำเนินการและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง | พัฒนาชุมชนอำเภออ่าวลึก เกษตรอำเภออ่าวลึก |
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน | (1) เพื่อดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภออ่าวลึกให้เป็นหมู่บ้านยั่งยืน ตามตัวชี้วัดเกณฑ์พื้นฐานหมู่บ้านยั่งยืน และเป็นพื้นที่แห่งความสุขอย่างยั่งยืนเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 (2) เพื่อดำเนินการ Re-X-Ray สภาพปัญหาครัวเรือนตามแบบสอบถามของระบบ ThaiQM และเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ และขับเคลื่อนพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านยั่งยืน (3) เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ให้แก่พี่น้องประชาชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีรายได้ มีอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว เกิดความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก (4) เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5) เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก สร้างความรักความสามัคคีการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้อย่างยั่งยืน |
รายละเอียดการดำเนินงาน | ต้นน้ำ 1. แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการระดับพื้นที่ (หมู่บ้าน/ชุมชน) 2. สำรวจข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Villag) ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน โดยดำเนินการตามตัวชี้วัด 8 ข้อ 1.) ที่อยู่อาศัย มีความมั่นคงแข็งแรง ครัวเรือนมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ 2.) มีความมั่นคงทางอาหาร 3.) ความสะอาดครัวเรือน มีการแยกขยะและมีการจัดทำขยะเปียกลดโลกร้อน 4.) มีความสามัคคีในหมู่บ้าน 5.) ความร่วมมือ มีการประชุมหมู่บ้านพบปะกันเป็นประจำภายในชุมชน 6.) การปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 7.) ความมั่นคงปลอดภัย โดยมีคนช่วยดูแลคนในครัวเรือนและหมู่บ้านชุมชน 8.) การมีน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคและบริโภคตลอดทั้งปี 3. จัดอบรม ให้ความรู้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 52 หมู่บ้าน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบของโครงการให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้พร้อมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม /การปลูกผักสวนครัว /การเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้สำหรับการบริโภค / การจัดทำปุ๋ยหมักจากใบไม้และเศษอาหาร/ การจัดการขยะภายในครัวเรือนเพื่อลดภาวะโลกร้อน 4. กิจกรรมบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง 5. ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ และจัดทำแบบสอบถาม ThaiQM เพื่อบูรณาการความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของประชาชนในหมู่บ้านให้ครอบคลุมทุกมิติ กลางน้ำ 1.จัดประชุมสร้างการรับรู้สู่ชุมชน ถ่ายทอดองค์ความรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในครัวเรือน พร้อมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม /การปลูกผักสวนครัว /การเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้สำหรับการบริโภค / การจัดทำปุ๋ยหมักจากใบไม้และเศษอาหาร/ การจัดการขยะภายในครัวเรือนเพื่อลดภาวะโลกร้อน รณรงค์ให้ทุกครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 2. จัดทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริฯ ระดับอำเภอ “ซุ้มคลังอาหารปันสุข”เพื่อเป็นต้นแบบให้กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สามารถนำไปเผยแพร่ให้ประชาชนในพื้นที่ และดำเนินการจัดทำ “ซุ้มคลังอาหารประจำบ้าน” ในหมู่บ้านของตนเอง ปลายน้ำ 1. ประชาชนในพื้นที่อำเภออ่าวลึกทุกหมู่บ้าน มีความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน 2. เกิดการบริหารจัดการในพื้นที่และเกิดผลผลิต ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลดลง 3. ประชาชนน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นวิถีชีวิต (มีการปลูกผักในครัวเรือน คัดแยกขยะ มีถังขยะเปียกลดโลกร้อน) 4. คัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบระดับอำเภอ และมอบประกาศเกียรติคุณ |
ระดับการเปิดเผยข้อมูล | สาธารณะ |
ผู้จัดทำข้อมูล | นายธรรมวุฒิ เหลื่อมพิมาย |
อีเมลผู้จัดทำข้อมูล | dopa.areaplan@gmail.com |
สถานะของชุดข้อมูล | active |
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา...
กรมการปกครอง
อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีลักษณะทางกายภาพเป็นพื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันตกลงมาสู่ด้านตะวันออก...
กรมการปกครอง
จังหวัดเพชรบูรณ์ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563...
กระทรวงศึกษาธิการ
Abstract
The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์