ขนาดตัวอักษร ภาษา
การศึกษาวิจัยเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ
การศึกษาวิจัยเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบแนวคิด หลักการ กลไก และปัจจัยที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ ของไทยและได้ค้นคว้ากรณีศึกษาต่างประเทศ 7 ประเทศ เพื่อค้นหาต้นแบบกิจกรรม รูปแบบ และวิธีการที่เหมาะสมกับสำานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดิน และทรัพย์สินของรัฐ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำานวน 9 คน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ จากกลุ่มเป้าหมายตามภูมิภาค จำนวน 433 คน และ การจัดกิจกรรมแฮคกาธอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการประมวลและวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางและแผนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดิน และทรัพย์สิน ของรัฐ ผลการศึกษา พบว่า กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐจากกรณีตัวอย่างของต่างประเทศมีการดำเนินการที่ชัดเจน โดยมีรูปแบบการเข้ามามีส่วนร่วมในระยะก่อน ระหว่าง และ หลังการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้ง รูปแบบที่เน้นการเพิ่มศักยภาพ และความร่วมมือกับสาธารณชน โดยมีกลไกของกฎหมายที่เอื้อให้สามารถดำเนินการได้ ในขณะที่ประเทศไทยก็เปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม โดยมีกฎหมายตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เปิดช่องให้สามารถกระทำได้ แต่ในกรณีของการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐยังไม่ปรากฎรูปแบบของการมีส่วนร่วมที่ชัดเจนนัก สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย เรื่อง การมีความรู้และข้อมูล, การมีพื้นที่สาธารณะที่เข้าถึงและมีความปลอดภัย, ความเป็นพลเมืองและขีดความสามารถของประชาชนในการร่วมมือกับ สตง., กระบวนทัศน์และความเข้าใจ ของเจ้าหน้าที่รัฐในเรื่องของการมีส่วนร่วม, การมีเครือข่ายและการสื่อสารกับภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้ง การมีกฎหมาย นโยบาย ตลอดจน ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการเอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมโดยต้องยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล เป็นเงื่อนไขสำคัญของการมีส่วนร่วม สำหรับแผนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดิน และทรัพย์สินของรัฐนั้น ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) เสริมกระบวนทัศน์การทำงานแบบมีส่วนร่วมให้เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (2) สร้างความตระหนักรู้ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ (3) สร้างเครือข่ายในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ และ (4) ส่งเสริมธรรมาภิบาลในการใช้จ่ายเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ

องค์กร :
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
12 พ.ค. 2565
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลการศึกษาวิจัยเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
รายละเอียด
แท็ค (Tag)
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Research studies to enhance public participation among various sectors in maintaining the state finances and property.
หมวดหมู่ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
แท็ค (Tag) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน การมีส่วนร่วม เงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ ประชาธิปไตย
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 200301
องค์ประกอบ 200301V03
ปัจจัย 200301F0303
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG1714
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดเูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย กระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดเูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในบริบทของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล สถาบันพระปกเกล้า
อีเมลนักวิจัย Thawilwadee@kpi.ac.th
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โครงการสร้างกระบวนทัศน์เพื่อพัฒนาลูกเสือจิตสาธารณะตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ 8 recent views
การลูกเสือเป็นกระบวนการหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า“ขบวนการลูกเสือ” (Scout Movement) ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยอมรับเป็นเอกฉันท์ว่า...
กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชนในการจัดการศึกษา 12 recent views
ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย 3 ข้อเสนอ ได้แก่ (1) ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของรัฐในการจัดการศึกษา เช่น ด้านกฎหมาย กฎ...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 7 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายงานผลการวิจัย การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดนครศรีธรรมราช 8 recent views
การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดนครศรีธรรมราช...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.