นิเวศวิทยาและพันธุกรรมของประชากรลิ่นชวา (Manis javanica) ในผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

ลิ่นชวา (Manis javanica) ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ลิ่นเป็นสัตว์ป่าที่มีการลักลอบค้าอย่างผิดกฎหมายมากที่สุดในโลกส่งผลให้ประชากรลิ่นอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งตามบัญชีแดงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามบัญชีหมายเลข 1 ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ทั้งนี้ การอนุรักษ์ลิ่นชนิดพันธุ์นี้ในปัจจุบันยังขาดองค์ความรู้ทั้งในด้านสถานภาพประชากร ถิ่นอาศัย และนิเวศวิทยาเชิงลึกบางประการของประชากรลิ่นชวาที่อาศัยในพื้นที่ป่าธรรมชาติ โครงการวิจัยจึงได้กำหนดเป้าหมายสำคัญประกอบด้วย (1) เพื่อติดตามและตรวจสอบสถานภาพประชากรและการกระจายของลิ่นชวาในพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติดงพญาเย็น - เขาใหญ่ (2) เพื่อทราบข้อมูลลักษณะ ทางนิเวศวิทยาที่สำคัญ เช่น ขนาดถิ่นอาศัย พฤติกรรมการหากินและการเคลื่อนที่ของลิ่นชวา และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของลิ่นชวา ดำเนินการสำรวจประชากรและการกระจาย โดยตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติครอบคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดา ผลการศึกษาพบว่ามีประชากรลิ่นชวาอาศัยในพื้นที่เป้าหมายราว 77 ตัว โดยลิ่นชวาส่วนใหญ่จะอาศัยบนพื้นดิน แต่พบว่าบางครั้งสามารถปีนและอาศัยบนต้นไม้ได้เช่นเดียวกับลิ่นชนิดอื่น โพรงรังของลิ่นชวาพบได้ในป่า 2 ประเภท ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ลิ่นชวามีพฤติกรรมหากินในเวลากลางคืน ตั้งแต่ช่วงเวลา 18.00 - 06.00 น. การวิเคราะห์ขนาดพื้นที่หากินของลิ่นชวาด้วยวิธี minimum convex polygon พบว่าลิ่นชวามีขนาดพื้นที่อาศัยและหากินอยู่ระหว่าง 0.07 - 0.38 ตารางกิโลเมตรต่อตัว การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการด้วยการตรวจไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอของลิ่น แสดงให้เห็นว่าพันธุกรรมของลิ่นชวามีความแตกต่างกันระหว่างลิ่นชวาในกลุ่มป่า เช่น กลุ่มป่าตะวันออก และกลุ่มป่า ดงพญาเย็น - เขาใหญ่ ทั้งนี้การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลิ่นชวายังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พฤติกรรมทางสังคม การหาอาหาร และการสืบพันธุ์ องค์ประกอบขององค์ความรู้ต่างๆดังกล่าวเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลิ่นชวาได้อย่างเหมาะสม และเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการอนุรักษ์ลิ่นชวาในระยะยาวต่อไป

องค์กร :
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
8 ธันวาคม 2564
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลนิเวศวิทยาและพันธุกรรมของประชากรลิ่นชวา (Manis javanica) ในผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Ecology and Genetics of Sunda Pangolin (Manis javanica) Population in Dong Phayayen Khao Yai Forest Complex
หมวดหมู่ การเติบโตอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ นิเวศวิทยาสัตว์ป่า
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 180102
องค์ประกอบ 180102V02
ปัจจัย 180102F0204
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG150C
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) การอนุรักษ์ประชากร การจัดการถิ่นอาศัย การเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ การปล่อยคืนสู่ธรรมชาติของลิ่นชวา รวมถึงการสร้างมาตรการบังคับใช้กฎหมาย การติดตามตรวจสอบ การป้องกันการลักลอบล่าและค้าสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ต่อไป
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย ฐานข้อมูลพันธุกรรมของลิ่นชวาในพื้นที่ผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ สามารถใช้เพื่อการป้องกันและสนับสนุนการดำเนินคดีเอาผิดต่อผู้ที่กระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนมาตรการควบคุมการล่าและการนำตัวลิ่นชวาออกจากพื้นที่ป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ รวมทั้งสามารถดูแล เลี้ยงดู และปล่อยลิ่นชวาคืนสู่ป่าธรรมชาติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
พื้นที่เป้าหมาย จังหวัดนครราชสีมา
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย นายศุภกิจ วินิตพรสวรรค์
อีเมลนักวิจัย v_supagit@hotmail.com
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
การประเมินมูลค่าการให้บริการระบบนิเวศอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 3 recent views
อธิบายความสำคัญของพื้นที่ป่าต้นน้ำ ในด้านการให้บริการทางอุทกวิทยาและความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าต้นน้ำ...
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
T-REx : Thai Reference Exome Database 2 recent views
ชุดข้อมูลความชุกในรูปแบบความถี่อัลลีลของความหลากหลายทางพันธุกรรมแบบสนิปส์ (SNP) และอินเดล (INDEL) โดยรวบรวมจากข้อมูลพันธุกรรมแบบทั่วเอ็กโซม (Whole Exome Sequencing : WES)...
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รายงานข้อมูลจำนวนประชากรและบ้าน 2563 11 recent views
รายงานข้อมูลจำนวนประชากรและบ้าน
การเคหะแห่งชาติ
ประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป จำแนกตามการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ 3 recent views
ประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป จำแนกตามการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ พ.ศ. 2561 - 2563
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.